“กรอบแนวคิดสำหรับ Stablecoins” (Framework for Stablecoins)

An Explorer
3 min readJun 8, 2021

--

Key points

  • คุณสมบัติที่ดีของ Stablecoins คือ Great stabilization mechanism และ High liquidity
  • Framework for Stablecoins หลักๆที่ใช้พิจารณาคือ 1) Collateral 2) Mechanism 3) Peg 4) Price info

“เงิน” โดยทั่วไปเรามักจะได้ยินคุณสมบัติ 3 อย่างนี้

  1. Store of value หรือเป็นที่เก็บสะสมมูลค่า
  2. Unit of account หรือเป็นหน่วยวัดมูลค่าของสิ่งต่างๆ
  3. Medium of exchange หรือตัวกลางในการแลกเปลี่ยน

แต่ละคุณสมบัติของเงินนั้นต่างได้รับการให้ความสำคัญไม่เท่ากัน และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเป็น Store of value นั้นโดดเด่นเป็นอยากมาก ซึ่งกุญแจสำคัญในการแสดงคุณสมบัติของเงินก็คือ”ความมั่นคง”(Stability)

หากเราลองจินตนาการดูว่าเราถือครองทรัพย์สินที่มีความแปรผันสูง(Volatility) มูลค่าทรัพย์สินของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่การวัดมูลค่าของสิ่งของและบริการบางอย่างการวัดด้วยมาตรวัดที่แปรผันสูงคงให้ผลลัพธ์ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ และสุดท้ายหากเราใช้ทรัพย์สินที่มีความมั่นคงของราคาในการเป็นตัวการแลกเปลี่ยนจะทำให้มนุษย์ที่ทำการแลกเปลี่ยนสามารถคาดการราคาที่จะต้องจ่ายในการซื้อของและบริการอย่างเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

จากที่ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ว่า Stablecoins ที่มีคุณภาพนั้น ผู้เขียนมองว่าควรจะมีคุณสมบัติหลักๆสองข้อนี้คือ

  • Great stabilization mechanism — หมายความว่าราคาของ Stablecoin นั้นๆ จะไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงควรสอดคล้องเหมาะสมกับ GDP(Gross Domestic Product)
  • High liquidity — หมายความว่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของและบริการ (goods and services) กับ Stablecoin เกิดขึ้นได้อย่างสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ที่ถือ Stablecoin นั้นๆ

ผู้เขียนเองก็เป็นผู้ที่ชื่นชอบความก้าวหน้า(Innovation) ของการพัฒนาเหรียญประเภท Stablecions ซึ่งมองว่าการรู้จักการจำแนกเพียง Collateralized ว่าเป็นอย่างไร อาจจะยังไม่ตอบสนองความอยากรู้ของผู้เขียนได้ วันนี้จึงอยากพาผู้อ่านทุกท่านมารู้จัก “กรอบแนวคิดสำหรับ Stablecoins” (Framework for Stablecoins)

ซึ่งผู้เขียนได้รับแรงบรรดาลใจเป็นอย่างมากจากงานวิจัยของ Cornell University ร่วมกับ AVA Labs

Cornell University and AVA Labs. (2019). A Classification Framework for Stablecoin Designs. Retrieved from: https://files.avalabs.org/papers/stablecoin.pdf

กรอบแนวคิดสำหรับ Stablecoins

Framework for Stablecoins ที่ทาง Cornell University ร่วมกับ AVA Labs ได้สรุปมาแล้วแบ่งเป็น 4 พื้นฐานหลักๆ

1) Collateral

หรือก็คือทรัพย์สินที่ใช้ในการรองรับมูลค่าของเหรียญ Stablecoin ที่สร้างขึ้น ซึ่งยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกสองข้อย่อยคือ

1.1) Type หรือชนิดของตัวที่นำมารองรับมูลค่า เช่น

  • Fiat
  • Commodity
  • Combination
  • Crypto
  • None

1.2) Amount หรือปริมาณที่ทำการรองรับมูลค่า เช่น

  • Full Reserve — ทรัพย์สินรองรับมูลค่าเต็มจำนวน
  • Partial Reserve — ทรัพย์สินรองรับมูลค่าบางส่วน
  • None — ไม่มีทรัพย์สินในการรองรับมูลค่าที่ชัดเจน หรือแทบไม่มีการรองรับมูลค่า
  • Overcollateralized — ทรัพย์สินที่รองรับมีมูลค่าเกินกว่ามูลค่าเหรียญ Stablecoins ในตลาด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะทราบชนิด(Type) และปริมาณ(Amount) ของทรัพย์สินที่ใช้ในการรองรับมูลค่าแล้ว เรายังต้องคำนึงถึงวิธีการเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นๆด้วย เช่นกรณีที่ใช้ Fiat เป็น Collateral ก็จะสะดวกสบายในแง่ของการเก็บรักษา เพราะ Third party ที่ทำการออก Stablecoins สามารถนำ Fiat ที่ได้รับการแลกมาจากผู้ใช้บริการ มาเก็บไว้เองส่วนหนึ่ง ให้ธนาคารช่วยเก็บส่วนหนึ่งก็ได้ ทว่ามากเป็น commodities อื่นๆ อย่างทองคำ(Gold) เงิน(Silver) หรือเหล็ก(Steel) มักมีความลำบากในการเก็บรักษา

2) Mechanism

หรือกลไกการรักษาความ Stability(ความมั่นคง) เช่น

Reserve of Backed Asset — ตัวอย่างเหรียญที่เรารู้จักกันดีในประเภทนี้ก็คือ USDC, USDT, TrueUSD, Paxos, Gemini Dollars และอื่นๆ ซึ่งสำหรับกลไกดังกล่าวนี้คือการที่ผู้ออกเหรียญมีทรัพย์สินรองรับมูลค่า Stablecoins อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถขยาย(Expanding)ปริมาณ Supply และหด(Contracting)ปริมาณ Supply ตามกลไกของตลาด ยกตัวอย่างเช่น

  • หาก USDT มีมูลค่า 1.1 $ ( > 1 US dollar) ผู้ใช้บริการสามารถนำเงิน Fiat อย่าง 1 US dollar เพื่อแลก 1 USDT ได้เลยกับ Third party ที่ทำการออกเหรียญ ซึ่ง USDTดังกว่ามีมูลค่ามากกว่า 1 US dollar หรือพูดง่ายๆคือซื้อของแพงกว่าในมูลค่าที่ถูกกว่า จากนั้นปริมาณ USDT ของผู้ใช้บริการจะเพิ่มมากขึ้น Wallet ซึ่งเรียกกลไกนี้ว่าการ Expanding supply หรือการเพิ่มปริมาณของ Stablecoins
  • ในทางตรงกันข้ามหาก USDT มีมูลค่า 0.9 $ ( < 1 US dollar) ผู้ใช้บริการสามารถนำเงิน Fiat อย่าง 1 USDT เพื่อแลก 1 US dollar ได้เลยกับ Third party ที่ทำการออกเหรียญ ซึ่ง USDTดังกว่ามีมูลค่าน้อยกว่า 1 US dollar ดังนั้นปริมาณ US dollar(Fiat) ในกระเป๋าเงินของผู้ใช้งานจะเพิ่มขึ้น และ Stablecoins อย่าง USDT ก็จะลดลง ซึ่งเรียกกลไลนี้ว่าการ Contracting supply
Retrieve from : https://www.intelligenteconomist.com/supply-and-demand/

ไม่ว่าการ Expanding หรือ Contracting ของ Supply ต่างเป็นการรักษาสมดุลของกราฟ Demand-Supply ให้ Stablecoins นั้นๆ ราคาเข้าใกล้จุด Equilibrium ที่สุด หรือจุด Stable price ที่เราต้องการ

Dual Coin — โดยหลักแนวคิดเบื้องต้นสำหรับ Dual coin ก็คือจะมี 1 เหรียญที่เป็น Stablecoin อีก 1 เหรียญ จะเป็น Volatile asset คอย Absorb(ดูดซึม) ความผันผวนที่เกิดขึ้นกับ Stablecoin อีกตัวที่เป็นคู่หู ตัวอย่างเหรียญที่เรารู้จักกันดีอย่าง MakerDao ซึ่งก็คือ MKR และ Dai , Terra ซึ่งก็คือ Luna และ TerraUSD (UST)

Algorithmic — กลไกของเหรียญประเภทนี้นั้นปัจจุบันก็แตกแขนงไปหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Rebasing, Protocol Controlled Value, Secondary Market Guarding pirce แต่ Core idea ที่สำคัญที่ผู้เขียนคิดว่าอธิบายเหรียญกลุ่มนี้คือการใช้ Math และ Game Theory ซึ่งตัวอย่างเหรียญที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ Ampleforth(AMPL), Frax, Fei และอื่นๆ

Leveraged Loans — คือระบบของ Stablecoin ที่รวบรวมกลไกต่างๆด้านบนทั้งหมด ซึ่ง Dai เป็นตัวอย่างที่ได้รับประสบความสำเร็จที่สุดจากการใช้งานระบบนี้ แนวคิดเบื้องต้นของกลไกนี้คือการที่ผู้ใช้งานนำ Asset(ทรัพสินย์)ของตนเองมา Lock ไว้ จากนั้นจะ Protocol สร้าง Dai (stablecoin) ออกมาได้ให้แก่ผู้ใช้บริการ หากพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว Dai ที่สร้างใหม่นี้มีค่าเทียบเท่ากับหนี้(Debt)เลย เราจึงเรียกแนวคิดนี้ว่า Collateralized Debt Positions (CDPs) อย่างไรก็ตาม MakerDao Protocol หรือผู้ผลิต Dai ไม่ได้มีเพียงกลไกเพียงเท่านี้ในการรักษาความมั่นคงของราคา Dai มาได้จนถึงปัจจุบัน ผู้เขียนตั้งใจว่าจะทำการเขียนถึง MakerDao อย่างเดียวโดยละเอียดในอนาคต

Cornell University and AVA Labs. (2019). A Classification Framework for Stablecoin Designs. Retrieved from: https://files.avalabs.org/papers/stablecoin.pdf

3) Peg

หรือการที่ Stablecoin เลือกที่จะยึดราคาให้ใกล้เคียงกับสิ่งนั้นๆมากที่สุด เช่น US dollar ที่ > 90% ของเหรียญ Stablecoins ในตลาดปัจจุบันใช้ในการ Peg ซึ่งสามารถ Peg ได้ตั้งแต่

  • Fiat อย่างเงิน USD, Japanese yen, Euro, Pound sterling
  • Commodities อย่างทองคำเองก็ได้ถูก peg เช่นกัน
  • Combination สามารถผสมรวมหลายอย่างร่วมกันได้ เป็น Stablecoin บางเหรียญ peg กับ IMF’s special drawing rights (SDR) หรือการผสมกันของสกุลเงินมหาอำนาจแห่งการส่งออกบนโลกใบนี้
  • Index ที่พบได้ก็คือ CPI (Consumer Price Index) หรือ Index ที่ทำการติดตามการเกิดเงินเฝ้อที่สัมพันธ์กับสิ่งของกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการเลือก เพื่อสะท้อนรูปแบบการใช้จ่ายของคนในสังคม

4) Price Information

หรือข้อมูลราคาของสิ่งของนั้นๆ ก็คือการรายงานราคาของ Stablecoins บนตลาดการซื้อขายต่างๆ ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญในการทำให้โปรเจ็คต่างๆ สามารถปรับเพิ่มลด Supply ของเหรียญ Stablecoins ได้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งาน

  • เนื่องจากเบื้องหลังของ Stablecoins ก็คือ Blockchain technology และตัว Stablecoins นั้นส่วนใหญ่ถูกสร้างจาก Smart contract ในการสร้างสรรค์ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ Oracle ที่ดี ที่จะทำให้การรายงานราคาของ Stablecoins ให้มีความเที่ยงตรงที่สุด ไม่เกิดการ

Reference:

Note: บทความต่อไปนี้ไม่ใช่คำแนะนำด้านการลงทุน บทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจลงทุนใดๆ

Note2: ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมใช้เวลาในการศึกษาเรื่องที่เขียนอาจจะไม่ได้มากเท่าไหร่ ดังนั้นผมจึงไม่คิดว่ามันมีความถูกต้อง 100% อย่างไรก็ตามหากสงสัยข้อมูลส่วนไหน สามารถสอบถามได้เลยครับ ผมยินดีรับฟังและเรียนรู้ไปด้วยกันครับ

หากผู้อ่านชื่นชอบบทความที่เขียนสามารถสนับสนุนผู้เขียนได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้นะครับ

ETH address:

0x9148380954A271D74460238f69626F4Bf6725aFE

BSC address:

0x9148380954A271D74460238f69626F4Bf6725aFE

Bitkub Chain address:

0x9148380954A271D74460238f69626F4Bf6725aFE

Cardano address:

addr1q9gcsg3h2c7r6ryuyvqum3zkgu5skpzgae6h45f0xn355m7hqr57am0y6pgz8uu0sfe82gpw32ghn2xcpsq43m8uy80qd0ndtu

--

--

An Explorer
An Explorer

Written by An Explorer

An Explorer who wishes to explore this vast space.

No responses yet