Introduction to Stablecoins

An Explorer
3 min readJun 6, 2021

--

Stablecoins คืออะไร

หากกล่าวถึงคำว่า “Stablecoin” นั้น อาจจะเป็นที่คุ้นชินสำหรับผู้ที่ทำการลงทุนหรือศึกษาเกี่ยวกับ Cryptocurrency มาสักพักแล้วเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามบางสถาบันการเงิน(Monetary authorities)ใหญ่ๆของโลกบางสถาบันก็ยังให้ความเห็นว่า คำว่า “Stabelcoin” นั้น ความหมายของมันอาจจะยังมีความไม่ชัดเจนทางด้านกฏหมายและทาง technical บางอย่าง ซึ่งคำเรียก stablecoin มักใช้ในเชิงการตลาดเพื่อโปรโมทคุณสมบัติเหรียญนั้นๆ เท่านั้นเอง

เพื่อไม่ให้เป็นการสื่อสารที่เข้าใจผิดระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน อย่างไรก็ตามคำว่า Stablecoin นั้นก็ยังถือว่าเป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในโลกธุรกิจการเงินอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Investment Company, Retail and Commercial Banks, หรือแม้แต่ The Bank for International Settlements (BIS) ก็ยังใช้คำว่า “Stablecoin”

จุดมุ่งหมายของ Stablecoins คืออะไร

Stablecoins ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานเป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงความผันผวน(Volatility) ของ Cryptocurrencies นอกจากนี้ Stablecoins เองยังถูกใช้ในการโอนไปมาผ่าน Exchanges ต่างๆ เพื่อใช้ในการ Cash out ผ่านทาง Exchange ซึ่งผู้ซื้อขาย Cryptocurrency ต้องคำนึงถึงการควบคุมต่างๆจากรัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ ที่ผู้ถือเหรียญ Cryptocurrency ต้องพิจารณา

แม้ว่าในช่วงแรกของการมีอยู่ของ Stablecoins มักจะเกี่ยวข้องกับการวาง strategy ในการลงทุนกับ Cryptocurrencies แต่ในปัจจุบัน การตีความหรือเป้าหมายของ Stablecoins นั้น ยังรวมไปถึงการใช้จ่ายซื้อของต่างๆในชีวิตจริง(Crypto as payments) การโอนเงินข้ามประเทศ(Remittances) หรือแม้แต่การทำธุรกรรมการเงินต่างๆของสถาบันการเงิน(Financial institutions)และธนาคาร(Banks)

ประโยชน์ และความท้าทายของ Stablecoins

ประโยชน์ของ Stablecoins นั้น นอกจากความสามารถในการหลีกเลี่ยงความผันผวนได้แล้ว หลักๆที่สำคัญที่ถูกยกมากล่าวถึงบ่อยๆก็คือความสามารถใน Interoperability ซึ่งก็คือการที่สามารถแลกเปลี่ยน สื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย ความคุ้มค่า(Cost effective) และความเร็ว(Speed)

อย่างไรก็ตามความท้าทายที่สำคัญของการเกิด Stablecoins adoption ก็คือ ความเสี่ยงของผู้กำหนดนโยบายการเงินต่างๆของประชากรในเขตรับชิดชอบ กฏหมายการฟอกเงิน(AML) กฏหมายการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย(CFT) ความปลอดภัยของBlockchainนั้นๆ ความไม่แน่นอนของผู้ควบคุมดูแลกฏหมาย และการคุ้มครองผู้บริโภค(Customer protection)

The Block Research. (2021). Stablecoins: Bridging the Network Gap Between Traditional Money and Digital Value. “Introduction to Stablecoins”.

การแบ่งประเภทของ Stablecoins

โครงสร้างการพัฒนา(Framework) ของ Stablecoins นั้น แม้ว่าข้อคำนึงในการคิดค้นจะมีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น 1. Collateral โดยอะไร แล้วปริมาณเท่าไหร่ 2. Peg กับอะไร อย่างไร 3. Price info ได้มาจากแหล่งไหน 4. Mechanism ในการควบคุมราคาให้มั่นคงอย่างไร

อย่างไรก็ตามการแบ่งประเภทในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ยังคงพบเห็นได้แพร่หลาย ก็คือการแบ่งตามประเภท Collateral

(i) Fiat-collateralized หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Off-chain collateralized

(ii) Crypto-collateralized หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า On-chain collateralized

(iii) Non-collateralized หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Algorithmic collateralized

The Block Research. (2021). Stablecoins: Bridging the Network Gap Between Traditional Money and Digital Value. “Stablecoin Categories”.

1) Fiat-collateralized หรือ Off-chain stablecoins หรือการรองรับมูลค่าจากทรัพย์สินอื่นๆนอก Chain

การที่เหรียญ Stablecoin นั้นๆ ถูกสร้างจาก Centralized third party ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Tether ที่ทำการสร้างเหรียญ USDT ออกมา แล้วผู้ใช้บริการทำการจ่ายเงิน”USD” ให้กับ Exchange(เช่น Binance, Bitkub, etc) ที่ไปทำการเอาเหรียญ USDT มาให้แลกเปลี่ยนบน Platform ของ Exchange นั้นๆ หลังจากแลกเปลี่ยนผู้ใช้บริการจะได้รับ USDT มาถือไว้ใน Wallet ซึ่ง USDT ดังกล่าวจะถูกรองรับ(Collateralized) โดย Fiat currency อย่าง USD หรือแม้แต่สกุลเงินอื่นที่ third party นั้นๆยอมรับ เช่น THB, EURO, Yen, etc.

ซึ่งหากพิจารณาจากข้อความก่อนหน้านี้ คำถามที่ควรสงสัยก็คือแล้ว Fiat curency ที่ Third party ที่จากการแลกเปลี่ยนระหว่าง Stablecoin จะทำการเก็บรักษาไว้อย่างไร ซึ่งทางผู้เขียนขอยกตัวอย่าง Tether ที่ผู้เขียนตีความหมายเองเป็นการเก็บรักษาหลักๆ 3 แบบก็คือ 1. ฝากธนาคารบางส่วน 2. บริษัทถือเองบางส่วน 3. เปลี่ยนรูปแบบ Fiat เป็น Financial instrument อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Loans, Bonds, Commodities, หรือแม้แต่ Other investments

หากผู้ใช้บริการต้องการแลกเปลี่ยน Off-chain stablecoin คืน ให้อยู่ในรูปแบบเงิน Fiat ที่ต้องการ สามารถหาช่องทางแลกเปลี่ยนได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็น Exchange ที่ทีการแลกเปลี่ยนประจำ ทว่าในบางประเทศสามารถแลกเปลี่ยนโดยตรงได้กับทางธนาคาร(Bank)ได้เลย

2) Crypto-collateralized หรือ On-chain stablecoins หรือการรองรับมูลค่าจาก Crypto อื่นๆบน Chain เดียวกัน

Stablecoin ประเภท Crypto-collateralized ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขว้างก็คือ Dai ซึ่งสร้างมาจาก MakerDao

แม้ว่าจะเป็นการใช้ Crypto asset ในการรองรับมูลค่าของ Stablecoin อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องทราบก็คือเหรียญ Dai ก็ยังคงทำการ soft-peg กับ USD อยู่ดี

โดย Dai Stablecoin มีหลักการทำงานคร่าวๆก็คือการนำ Cryptocurrencies เหรียญอื่นๆบน Chain เดียวกัน เช่น ETH, YFI, LINK, etc. มาทำการล็อค(Lock) ไว้ใน smart contract จากนั้นจะสามารถสร้าง(Mint) เหรียญ Dai ออกไปใช้งานอื่นๆได้ โดยเฉพาะ DeFi บน Ethereum chain, หรือวาง strategy การลงทุนอื่นๆใน Cryptocurrencies บน Ethereum chain

MakerDao นั้นมีหลักการที่ชาญฉลาดที่เรียกว่า Collateralized Debt Positions (CDPs) ซึ่งสร้างเงื่อนไขการ lock Crypto แล้วทำการ mint Dai ในอัตราส่วนที่มูลค่าของ Dai ที่จะสร้าง(Mint) ได้นั้น ต้องน้อยกว่า Crypto assets ซึ่งเรากลไกนี้ว่า Over-collateralized และมีกฏเกณฑ์การ Liquidation ซึ่งก็คือการขาย Crypto-collateral assets เพื่อชดใช้ปริมาณ Dai ที่ผู้ใช้บริการสร้าง(Mint)ขึ้นมา โดยการ Liquidation ช่วยสร้างความมั่นใจว่า Dai จะถูกรองรับด้วยทรัพย์สินปริมาณที่เหมาะกับข้อตกลงที่ผู้ใช้บริการกับตัว Protocol ได้ตกลงกันไว้

ซึ่งหากพิจารณาดูแล้วกรณี Crypto-collateralized จะสามารถควบคุมให้เหรียญมีความเป็น Stablecion ผ่านการ Arbitage และ นโยบายการเงิน(Monetary policy) ผ่าน Interest rate ที่ protocol จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมการทำธุรกรรมต่าง(Fee)

3) Non-Collateralized หรือ Algorithmic stablecoins

คำว่า “Algorithm” เองเป็นคำที่ให้ความหมายกว้าง แต่ส่วนตัวผู้เขียนเองขอนำเสนอในแง่ขอการ Rebase mechanism และการรักษาความมั่นคงของราคาโดยคณิตศาสตร์(Math) บางครั้งผู้อ่านอาจจะเห็นอีกคำศัพท์อย่าง Seigniorage style ซึ่งมักถูกเรียกรวมกันในกลุ่ม Non-collateralized

เนื่องจากปัจจุบันมีการผสมผสานแนวคิดการสร้าง stablecoins เต็มไปหมด ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเหรียญแรกๆที่ถูกเรียกว่า Algo stablecoin และเข้าใจได้ไม่ยากอย่าง Ampleforth ซึ่งนอกจากนี้ยังมีเหรียญที่น่าสนใจอย่าง TerraUSD (UST) หรือที่เรารู้จักในชื่อ Luna ก็เป็น Algorithmic stablecoins ที่ใช้หลักการ Dual tokens เพื่อรักษาความมั่นคงของราคา

Ampleforth ใช้หลักการรักษาราคาให้มั่นคงต่อสิ่งที่ peg อย่าง USD ด้วยการ Rebase หรือการหด-ขยายของ supply ของ AMPL ใน Wallet ของผู้ถือทุกคนสัดส่วนเท่ากันตามเปอร์เซ็นปริมาณการถือเหรียญ AMPL จากทั้งหมด ซึ่งมีกลไกลเบื้องต้นตามนี้

  • หากราคา(Price) ของ AMPL สูงกว่าราคาของสิ่งที่ peg ไว้ (1 USD) ทาง Protocol จะสร้าง AMPL เพิ่มขึ้น เพื่อทำให้ supply เพิ่มขึ้น ราคาของ AMPL ก็จะลดลงกลับมาตามกราฟ Demand-Supply เพื่อให้ราคาใกล้เคียง 1:1 USD สุดท้าย AMPL ที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดจะกระจายเข้าทุก Wallets ตามสัดส่วนที่ผู้ใช้งานแต่ละคนถือ AMPL ต่อปริมาณทั้งหมดก่อนเกิดจาก Rebase
  • ในทางตรงกันข้ามหากราคา(Price)ของ AMPL ต่ำกว่า < 1 USD ทาง Protocol จะทำลาย(Burn) AMPL เพื่อทำให้ supply ลดลง จากนั้นราคา AMPL ก็จะเพิ่มขึ้นตามกราฟ Demand-Supply เพื่อให้ราคาใกล้เคียง 1:1 USD ซึ่ง AMPL ที่ทำการ Burn ก็จะทำลายในทุก Wallets ตามสัดส่วนตามปริมาณ AMPL ที่ถือไว้ต่อปริมาณทั้งหมด

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทำให้ Algorithmic stablecoins ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบัน อาจจะเป็นเพราะว่าผู้สร้างส่วนใหญ่เน้นการสร้างความ stable ของราคา ไปที่ Math และ Mechanism เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความเป็น theory มากเกินไป การนำมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมอื่นๆเป็นไปได้ยาก บางครั้งไม่ได้ส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน หรือที่เราเรียกว่า Organic growth

สุดท้ายนี้ถ้าจะให้พูดถึงคุณสมบัติที่ผู้เขียนต้องการจาก Stablecoins ที่สุดก็คือ

  1. Great stabilization mechanism
  2. High liquidity

เพราะฉะนั้นหากต้องการเข้าใจว่าเราจะสามารถมองหาคุณสมบัติพวกนี้จากไหน คงต้องรอติดตาม Deep dive into Stablecoins series กันต่อไปครับ

References

The Block Research. (2021). Stablecoins: Bridging the Network Gap Between Traditional Money and Digital Value.

Retrieved from: https://www.theblockcrypto.com/post/97769/stablecoins-bridging-the-network-gap-between-traditional-money-and-digital-value-brought-to-you-by-gmo-trust

Cornell University and AVA Labs. (2019). A Classification Framework for Stablecoin Designs.

Retrieved from: https://files.avalabs.org/papers/stablecoin.pdf

Ampleforth

Retrieved from: https://www.ampleforth.org/redbook/ampleforth_overview/

Algoeuro

Retrieved from: https://algoeuro.com/

MakerDao

Retrieved from: https://docs.makerdao.com/

Terra

Retrieved from: https://docs.terra.money/stablecoin.html#powering-the-innovation-of-money

Tether

Retrieved from: https://tether.to/

--

--